Bangkok City Lab เปิดรับสมัคร Startup ด้าน Urban Living Solutions รุ่นใหม่ไฟแรงที่จะมาร่วมแก้ปัญหาและพัฒนา”ย่านปุณณวิถี” ให้เป็นเมืองต้นแบบด้านนวัตกรรมภายใต้โจทย์
“ทำอย่างไรให้คนที่ว่างงานในชุมชนย่านนวัตกรรมไซเบอร์เทค มีโอกาสได้รับการจ้างงานจากคนในพื้นที่ย่านปุณณวิถี และพื้นที่ข้างเคียงอย่างยั่งยืน”
Startup ได้รับการคัดเลือกมีระยะเวลา 3 เดือน (กรกฎาคม - ตุลาคม) ในการร่วมพัฒนา Solutions มาใช้งานกับชุมชนและได้รับเงินสนับสนุน มูลค่ากว่า 300,000บาท ตลอดการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ
20 พฤษภาคม - 17 มิถุนายน 2565 เปิดรับสมัครและคัดเลือกผลงานผ่านทางออนไลน์
22 มิถุนายน 2565 คัดเลือกผลงานเข้าสู่การทดลองผลงานนวัตกรรม
สถานที่: Townhall S, ชั้น 7 ตึกเพกาซัส, True Digital Park เวลา: 14.00 - 16.00 น.
1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565 ช่วงทดสอบผลงานนวัตรรมในย่านนวัตกรรมไซเบอร์เทคระยะเวลา 3 เดือน
15 กรกฏาคม 2565 การประชุมเชิงปฏิบัติการ Co-design รูปแบบงาน Hybrid Event
สถานที่: Workshop Room, ชั้น 7 ตึกเพกาซัส, True Digital Park
Online: Zoom Meeting เวลา: 14.00 - 16.00 น.
4 ตุลาคม 2565 นำเสนอผลงานนวัตกรรมแก้ปัญหาเมือง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา รูปแบบงาน Hybrid Event
สถานที่: Auditorium, ชั้น 6 ตึกเพกาซัส, True Digital Park
Online: Zoom meeting เวลา 14.00 - 16.00 น.
คุณสมบัติผู้สมัครของ Startup ที่เข้าร่วมโครงการ
Startup ต้องมีทักษะทาง ธุรกิจ เทคโนโลยี และทักษะที่จำเป็นด้านอื่นๆ
Startup ต้องอยู่ในขั้นระดมทุน Pre series A หรือมีผลงาน หรือธุรกิจที่นำไปทดสอบในตลาด กับกลุ่มเป้าหมายแล้ว
ต้องมีการดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 1ปี
แนวทางการแก้ปัญหาต้องเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และต้องตอบสนองความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่
มีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 3คน
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้ตั้งแต่แรกจนจบ เช่น การทำเวิร์คชอป การรายงานผลการดำเนินงาน การรับคำปรึกษาและประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
มีการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย เพื่อรองรับมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ
เกณฑ์การตัดสิน
แนวคิดของนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทดลอง
ความพร้อมของนวัตกรรมในการนำไปทดลองใช้จริงในพื้นที่
ความครอบคลุมของแผนการนำงบประมาณไปใช้
หลักเกณฑ์และวิธีการวัดผลการทดลองนวัตกรรมที่ชัดเจน และครอบคลุม
แผนการขยายและเติบโตของนวัตกรรมในพื้นที่ทดลอง
นวัตกรรมจะต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านความยั่งยืน
ผลกระทบที่ต้องคำนึงถึง
ภายหลังจากการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ทำให้ทราบถึงปัญหาหลักคือ ผู้คนในย่านมีการว่างงาน ขาดรายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข สำนักนวัตกรรมแห่งชาติฯ จึงมีจุดประสงค์ที่จะนำนวัตกกรมมาทดลองกับปัญหาในพื้นที่ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาผลงานต้องคำนึงถึงผลกระทบใน 3 ด้านด้วยกัน ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ ผู้คนในพื้นที่ต้องได้รับผลกระทบในทางบวกโดย Startup สามารถใช้ Platform มาต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์และสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ด้านสังคม มีการยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อสะท้อนถึงการพัฒนาภายในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำโดยการเพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสการจ้างงานของคนในพื้นที่
ด้านความยั่งยืน หลังจากโครงการสิ้นสุดไปแล้วผลงานนวัตกรรมต้องสามารถดำเนินต่อไปได้โดยผู้คนในชุมชน จึงจะต้องมีแนวทางการใช้งานที่ชัดเจนให้ง่ายต่อการนำมาใช้งาน
สิ่งที่ Startup ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ
เงินสนับสนุนสำหรับทดลองผลงานนวัตกรรมจำนวน 300,000 บาท
Co-working space ที่ True Digital Park สำหรับทำงานทดลองผลงานนวัตกรรมในระยะเวลา 3 เดือน (กรกฎาคม-กันยายน)
โอกาสต่อยอดผลงานนวัตกรรมกับโครงการต่าง ๆ ในอนาคต และสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานต่าง ๆ
วันที่จัดงาน | 1 ต.ค 2566 (00.00) - 1 ธ.ค. 2566 (00.00) |
วันที่รับสมัคร | 1 มิ.ย. 2566 (00.00) - 1 พ.ย. 2566 (00.00) |
ค่าใช้จ่าย | ไม่มีค่าใช้จ่าย |
หลักฐานการสมัคร |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ไม่จำกัด |
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม (อายุ) | ไม่จำกัด |
ประเภทผู้ประกอบการ | ไม่จำกัด |
หมวดธุรกิจของผู้เข้าร่วม | ไม่จำกัด |
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ | 02-017 5555 # 416 |
ลำดับ | ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง/หน่วยงาน | เบอร์โทรศัพท์ | อีเมล์ |
---|---|---|---|---|
1 | นางสาวเยาวรัตน์ เกกินะ | นักส่งเสริมนวัตกรรม | 02-017 5555 # 416 | [email protected] |