ย่านนวัตกรรมปทุมวัน
แนวทางการพัฒนาย่านนวัตกรรมปทุมวัน
ย่านนวัตกรรมปทุมวันในด้านกายภาพ คือการออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมของโครงการต่าง ๆในย่านย่อย ให้มีความเชื่อมโยงในเชิงพื้นที่และเชิงเวลา ทั้งนี้แนวคิดของการออกแบบเมืองจะเกิดการผสมผสานกันระหว่างการสร้างย่าน (Place Making)และแผนกำหนดการ ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยแบ่งกรอบ ในการพัฒนาออกเป็นระยะสั้น (5 ปี) ระยะกลาง (10 ปี) และระยะยาว (20 ปี)
โดยในระยะสั้น การเชื่อมต่อของย่านราชประสงค์กับย่าน Create LAB เชื่อมโยงพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านพื้นที่การค้าบริเวณสยามสแควร์และสยามพารากอนไปสู่ย่านราชประสงค์ รวมถึงการเชื่อมต่อพื้นที่อื่น ๆ ในย่านในรูปแบบของทางเดินเท้า และทางเดินใต้ดินเชื่อมต่อสถานนีสามย่าน-สีลม-ลุมพินี เชื่อมต่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ สามย่านมิตรทาวน์ จามจุรีสแควร์ โครงการพัฒนาพื้นที่เดิมของโรงแรมดุสิตธานี และ One Bangkok
ในระยะกลางเมื่อการดำเนินโครงการ Chula Smart City สำเร็จไปบางส่วนและโครงข่ายของระบบขนส่งมวลชนจะมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครมากขึ้น รวมถึงบทบาทของถนนพระราม 4 ในฐานะ Innovation Avenue จะมีความสำคัญมากขึ้น และในระยะยาวย่านต่าง ๆ ในปทุมวันจะมีความชัดเจนในบทบาท ในการพัฒนาที่ชัดเจน โครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ในพื้นที่มีการดำเนินการที่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงการพัฒนาของเอกชนรายย่อยที่มีทิศทางในการพัฒนาสอดคล้องกับการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของย่านย่านนวัตกรรมปทุมวันในด้านการบริหารจัดการ คือ การพัฒนาเครือข่ายของนวัตกร นักลงทุน เจ้าของพื้นที่และผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยจุฬาลงกรณ์ในฐานะสถาบันการศึกษาและวิจัย รวมถึงเป็นเจ้าของที่ดินจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาย่านนวัตกรรม
.
วิสัยทัศน์ และแนวคิดการวางผังพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรมปทุมวัน พื้นที่ย่านสวนหลวง บริเวณพื้นที่ระหว่างถนนบรรทัดทองและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ย่านสวนหลวงจึงมุ่งเน้นให้เกิดสถาบันระดับนานาชาติที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำให้ “นวัตกรรมการออกแบบเพื่อสังคม” ถูกพัฒนาและได้รับการยอมรับ มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ในทุกภาคส่วนของสังคม เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน (INCLUVICE & SUSTAINABLE) ในทุกระดับโดยมีเป้าหมายในการให้บริการด้านนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อสังคมอย่างมืออาชีพ โดยเน้นการทำงาน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและเครือข่ายหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน (Shared Vision & Mission-based) ตั้งอยู่บนฐานวิชาการให้บริการในทุกมิติและหลากหลายระดับ ทั้งในระดับผลิตภัณฑ์ อาคารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การวางผัง วางแผน และนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้งานพื้นที่ (POTENTIAL CUSTOMERS) กลุ่มนิสิตบุคลากรและหน่วยงานในสังกัดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายวิชาชีพ ผู้ประกอบการสังคมและประชาชนผู้สนใจทั่วไป เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม (NPO/ NGO/ SOCIAL ENTERPRISE) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กทม. และ เทศบาล) องค์กร ภาคเอกชน (โดยเฉพาะในส่วนงาน CSR/ SOCIAL ENTERPRISE) เป็นต้น |
.
สำหรับผลงานเชิงนวัตกรรมที่สามารถเกิดขึ้นในพื้นที่ตามโครงการพัฒนาเดิม ประกอบด้วย |
||
|
2) DESIGN INNOVATION SERVICE |
3) DESIGN INNOVATION POLICY |
• คลังข้อมูลความรู้ ชุดสื่อสาธารณะ และ กิจกรรมทางวิชาการ ด้าน Design Innovation |
• บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบสินค้า เพื่อสังคมสำหรับองค์กรชุมชน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส (Social Design Product) • บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ เพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Design Service) สำหรับกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ • บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ (Built Environment Design Service) สำหรับอาคารและพื้นที่สาธารณะ |
• บริการให้คำปรึกษาและออกแบบ ระบบบริการสาธารณะ (Public Service Design) • บริการให้คำปรึกษาและจัดกระบวนการ ออกแบบนโยบายสาธารณะ (Policy Design Lab) |
..
พื้นที่ย่านราชประสงค์
บริเวณพื้นที่สี่แยกราชประสงค์ประกอบด้วยศูนย์การค้าและพื้นที่พาณิชยกรรมมากมาย โดยในปัจจุบันมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากการร่วมมือกันของเครือข่ายประชาสังคม และเอกชนในพื้นที่ (สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ RSTA) ซึ่งมีโครงการพัฒนาทางเดินลอยฟ้า Ratchaprasong-Walk (R-Walk) ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Assets) ที่สำคัญของพื้นที่ มีการเสนอการพัฒนาร่วมกัน นอกจากนี้สินทรัพย์เครือข่าย (Networking Assets) ของพื้นที่นั้น ภาคเอกชนได้มีการดำเนินการไปแล้วแต่ต้องประสานกับมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในอนาคต โดยรายละเอียดในการเป็น ย่านนวัตกรรม และย่านพาณิชยกรรมรูปแบบใหม่ คือ การมีพื้นที่สำหรับเปิดตัวสินค้า และทดลองสินค้า ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่เดิมซึ่งเน้นไปที่พื้นที่สำหรับขายสินค้าให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับทดลองและจัดแสดงสินค้า
บทบาทการพัฒนาย่านนวัตกรรมปทุมวัน
แผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมปทุมวัน
1) Big Data
ในยุคปัจจุบันที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผู้คนพึ่งพิงข้อมูลในการตัดสินใจต่าง ๆ กระบวนการคิดของคนทั่วไปหรือแม้แต่องค์กรต่าง ๆ ในทุกวันนี้ส่วนใหญ่อยู่บนฐานของการรวบรวมข้อมูล ประมวลผล เพื่อประกอบการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง แต่ด้วยความที่ข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายและกระจัดกระจายคำถามสำคัญ คือ เราจะเข้าถึงข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นและใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไรจากคำถามดังกล่าวจึงทำให้คนหันมาสนใจสิ่งที่เรียกว่า Big data กันมากขึ้นจนกลายเป็นกระแสสังคมในปัจจุบัน
2) Smart Districts
ย่านอัจฉริยะ (Smart districts) ย่านนี้จะขับเคลื่อน โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารบนโครงข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นย่านที่มีขอบเขตของพื้นที่และประชากรที่คาดเคลื่อนจากพื้นที่ย่านในโลกแห่งความเป็นจริง พัฒนาความเป็นทันสมัยในการค้าและพาณิชยกรรม เกิดเป็นความสะดวกสบายในการการค้าใช้เทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศให้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อ และระหว่างผู้ค้าด้วยกันเอง
3) การร่วมกลุ่มความร่วมมือทางการค้า
บริเวณย่านราชประสงค์มีจำนวนพื้นที่พาณิชยกรรมเป็นจำนวนมาก เกิดการร่วมมือกันเป็นองค์กร สมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจใน ย่านราชประสงค์ (RSTA) เพื่อการสนับสนุนความเป็นย่านการค้าที่เข้มแข็ง ส่งเสริมการเป็นย่านพาณิชยกรรมและพื้นที่สำนักงานเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างครบครัน จะช่วยเข้ามาเติมเต็มทัศนียภาพของย่านราชประสงค์-ย่านราชดำริ และที่แห่งนี้จะเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ที่พร้อมสร้างสีสันและเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้คนกรุงเทพมหานครและเพื่อเป็นความภาคภูมิใจให้กับคนไทยในรุ่นนี้และรุ่นต่อ ๆ ไป
4) ground zero
คือการใช้งานพื้นที่ในอาคารส่วนใหญ่ บนชั้นลอยหรือชั้น 2 อันเนื่องมาจากอุปสรรคบนระดับพื้นที่ไม่ เอื้อต่อการใช้งาน ซึ่งพบว่าบริเวณย่านราชประสงค์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ภายในอาคารและสามารถเข้าถึงโดยจากชั้น 2 ด้วยทางเดินลอยฟ้า เกิดเป็นระบบโครงข่ายการเชื่อมต่อภ่ายในอาคารอย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของการค้าและการบริการด้วยนวัตกรรมบนทางเชื่อมเกิดเป็น ระเบียงทางเศรษฐกิจการค้าและการบริการ เชื่อมต่อเข้ากับการค้าโดยรอบไม่ว่าจะเป็น ย่านสยามสแควร์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านประตู้น้ำ เป็นศูนย์กลางการค้าส่งเสื้อผ้าและแฟชั่น และย่านชิดลม เป็นพื้นที่สนับสนุนทางธุรกิจ