ย่านนวัตกรรมลาดกระบัง
ย่านลาดกระบังเป็นย่านที่มีศักยภาพและสมควรได้รับโอกาสในการพัฒนาไปสู่การเป็นย่านนวัตกรรมเนื่องจากมี ทำเลที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในด้านการขนส่งคมนาคมหลักของประเทศ และเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิที่กำลังขยายตัว และเป็นที่ตั้งของศูนย์โลจิสติกส์เพื่อ ขนส่งสินค้าไปยังทุกภูมิภาคของประเทศสามารถเข้าถึงย่านได้ด้วยการคมนาคมหลากรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ทางอากาศ ถนน ขนส่งมวลชนระบบรางหรือแม้แต่ทางเท้า จึงกล่าวได้ว่าย่านลาดกระบังนั้น มีโครงสร้าง พื้นฐานเพียงพอที่จะมีการลงทุนต่อยอดในการรองรับเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วบริเวณชาน กรุงเทพมหานคร และของประเทศไทย ในด้านของเศรษฐกิจและการผลิต ลาดกระบังมีผู้ประกอบธุรกิจในทุกระดับ แสดงให้เห็นว่ามีการขยายตัวของวิสาหกิจในทุกขนาดอย่างรวดเร็ว มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่ยังต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพเพิ่มเติมอีกเป็นจํานวนมาก ด้านทรัพยากรบุคคลที่จะนำย่านลาดกระบังไปสู่ความเป็นย่านนวัตกรรมเพื่อสร้างเทคโนโลยี เศรษฐกิจและการบริการรูปแบบใหม่ที่ จะช่วยปฏิวัติและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญไปได้ไกล ในเขตลาดกระบังนี้มีศักยภาพในการสร้างเศรษฐกิจอีกทั้งการพัฒนาย่านลาดกระบังอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน นั้นจะมีความสำคัญต่อการรองรับต่อความต้องการของนวัตกรในอนาคตกลุ่มนี้
..
จุดเด่นที่สำคัญอีกด้านของลาดกระบัง คือการที่ย่านมีลักษณะเป็นเมืองที่มีการใช้พื้นที่แบบผสมผสาน (Mixed Use) อยู่โดยรอบสถานศึกษาที่มีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวิสัยทัศน์ในการสร้างนวัตกรรม เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งให้ความสำคัญกับการขยายเครือข่ายความร่วมกันกับธุรกิจและอุตสาหกรรมพันธมิตรทั้งที่อยู่รายรอบในพื้นที่ และทั้งที่มีความสนใจการผลิตเทคโนโลยีในด้าน เดียวกันศักยภาพด้านบุคลากรและศักยภาพเชิงพื้นที่กายภาพ ในด้านชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีชุมชนช่างฝีมือและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอันเป็นเสน่ห์ ประกอบทั้งยังมีแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นแหล่งหล่อหลอมความคิด สามารถที่จะสร้างโอกาสเพื่อผลักดันสังคมลาดกระบัง ให้เป็นสังคมแห่งการพัฒนาด้านองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในย่านลาดกระบังได้ชุมชนยังต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มเติม ในด้านนวัตกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต |
การวิเคราะห์คุณลักษณะศักยภาพเฉพาะของย่านนวัตกรรมลาดกระบัง
1) สินทรัพย์ด้านกายภาพ (Physical Assets)
เพื่อให้การขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายไปสู่ชุมชนและบริเวณรอบ ข้าง สจล. จึงเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้เพื่อใช้ในการปรับปรุงทรัพยากรและสภาพแวดล้อมกายภาพให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม Start Up Accelerators ธุรกิจใหม่มีความสัมพันธ์ โดยตรงกับอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เร่งสนับสนุนให้เกิดธุรกิจเริ่มต้น (Start Up) เช่น Co-Working Spaces และการเพิ่มความหนาแน่นของและความร่วมมือในการทํางานผู้คนในพื้นที่ จึงเป็นลักษณะสำคัญของ ย่านนวัตกรรม (Innovation District) Third Place (สัปปายะสถาน) นี้มีความเป็นย่าน (District) ในตัว และมีอาณาบริเวณประมาณไม่เกินสองช่วงจุดเชื่อมต่อการขนส่ง (Transit Stops) และอยู่ในระยะเดินได้การใช้งานพื้นที่ในบริเวณนี้เป็นแบบผสมประกอบด้วยธุรกิจรายย่อยหลายประเภท รวมถึงพื้นที่ทํางาน พักอาศัย พักผ่อน สันทนาการ อยู่ด้วยกันในชีวิตประจําวัน ระบบนิเวศที่ดีของพื้นที่เหล่านี้ควรมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นใหญ่เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เกิดการพบปะโดยบังเอิญ มีพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดสำหรับบุคคลที่มาจากต่างสำนักงานกัน
2) สินทรัพย์ด้านเศรษฐกิจ (Economic Assets)
ต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการสร้างย่านนวัตกรรม โดยมีผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรม (Innovation Drivers) ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งในขณะนี้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้เป็น Innovation Hub ในมิติของการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้าน Smart City สจล. เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขนาดใหญ่ประกอบด้วยคณาจารย์ประมาณ 1,100 คน พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ประมาณ 1,000 คน และนักศึกษา ประมาณ 20,000 คน มีการสร้างการถ่ายทอด และให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ ทดสอบ และประยุกต์ใช้นวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานย่อยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของย่านนวัตกรรมอย่างครบถ้วน ได้แก่ High-value, research-oriented sectors เช่น การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนําของประเทศ Highly Creative เช่น Industrial Design, Graphic Arts, Media and Architecture Highly Specialized, Small Batch Manufacturing Innovation Cultivators Incubators Accelerators, Proof-of-Concept Centers Tech Transfer Offices เช่น สำนักวิจัยและนวัตกรรม
3) สินทรัพย์ด้านเครือข่าย (Networking Assets)
เขตลาดกระบังเป็นพื้นที่ มีสถานศึกษาหนาแน่นทุกระดับ และมีบริษัทและอุตสาหกรรมจํานวนมากจากย่าน นิคมอุตสาหกรรมที่สามารถจะเป็นหุ้นส่วนกับ สจล. ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในขณะเดียวกันนี้ลาดกระบังเป็นย่านศูนย์กลางการขนส่ง มีความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อ และเข้าถึงได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นทางการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟ Airport Link ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือระบบ Paratransit อื่นๆ เช่น ทางน้ำโดยคลองประเวศบุรีรมย์หรือเส้นทางจักรยานโดยรอบย่านปรับปรุงและรณรงค์ให้เกิดการใช้งานเส้นทางการเชื่อมต่อด้าน Paratransit เพื่อเอื้อต่อการเดินทางและการปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดและสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กร ขับเคลื่อนนวัตกรรม ธุรกิจเริ่มต้นและชุมชน
วิสัยทัศน์ และแนวคิดการวางผังพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรมลาดกระบัง
แนวทางพัฒนาย่านลาดกระบัง เป็นย่านนวัตกรรมซึ่งสามารถแบ่งมิติ ของการพัฒนานวัตกรรมออกเป็น 4 ด้าน คือ
1) นวัตกรรมทางวัฒนธรรม
เนื่องจากลาดกระบังเป็นย่านดั้งเดิมที่มีชุมชนเก่า มีรูปแบบการผลิตเชิงเกษตรกรรมทำให้มีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการเพาะปลูก การใช้แหล่งน้ำร่วมกัน การแลกเปลี่ยนหรือ ซื้อ ขายวัตถุดิบทางการเกษตรและอาหาร
2) นวัตกรรมด้านคมนาคม
เนื่องจากพื้นที่ในย่านลาดกระบัง มีรูปแบบการคมนาคมที่หลากหลาย โดดเด่นด้านอุตสาหกรรมการขนส่งโลจิสติกส์ และเนื่องจากย่านนี้เป็นพื้นที่สุดท้ายด้านตะวันออกของกรุงเทพที่จะผ่านไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในแผนเร่งพัฒนาของรัฐบาล หรือระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออก (Eastern Economic Corridor-EEC) ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมในด้านนี้เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นเชื่อมกับระดับประเทศ และระดับภูมิภาค รวมถึง การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคตะวันออก ของประเทศ
3) นวัตกรรมเพื่อพัฒนาและต่อยอดธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง หรือ SMEs
ในย่านลาดกระบังมีรูปแบบ กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 3 ระดับที่แตกต่างกัน คือ ระดับการผลิตและขายในครัวเรือน โดยใช้เครื่องมือ หรือ เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน เช่น การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมลาดกระบัง ในเบื้องต้น แนวคิดในการพัฒนากลุ่ม SMEs นี้ สามารถนำเทคโนโลยีออนไลน์และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริหารจัดการจากภาควิชาการ จะช่วยพัฒนาระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4) นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในย่านนี้ มีชุมชนขนาดใหญ่ หากนําเอาเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์กระบวนการ สื่อสารสาธารณะเข้ามาใช้ร่วมกับองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะ จะสามารถส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมคุณภาพ ชีวิตในย่านนี้สำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นได้
.
• แผนพัฒนาย่านนวัตกรรมลาดกระบังและกลยุทธ์ดําเนินการในระยะ 5 ปี เกิดพื้นที่ส่วนกลางภายในย่าน หลากหลายขนาด เช่นภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใช้พื้นที่แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ และพื้นที่ได้ปฏิบัติจริงจากความคิดสร้างสรรค์ (Makers’ space) เกิดพื้นที่ร่วมกลางชุมชน สวนสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในย่าน ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการ Transfer ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของคน รวมถึง technology and management transfer ด้านนวัตกรรมและการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมธุรกิจเริ่มต้นหรือรายย่อยพัฒนา ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด Ladkrabang Innovation For Equal living (LIFE) |
|
• แผนพัฒนาย่านนวัตกรรมลาดกระบังและกลยุทธ์ดําเนินการในระยะ 10 ปี |
|
• แผนพัฒนาย่านนวัตกรรมลาดกระบังและกลยุทธ์ดําเนินการในระยะ 20 ปี ย่านลาดกระบังเป็น Hub ด้านการคมนาคมที่ครบวงจร ทั้งระดับท้องถิ่น เชื่อมกับการท่องเที่ยวกับนานาชาติ เป็นพื้นที่ย่านตะวันออกสุดของ กทม.ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาที่มาจากฐานรากและส่งผลกระทบเชิงบวก ต่อนโยบายระดับมหภาค เช่น แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) บทบาทของ สจล. จะเป็นศูนย์กระจายองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความร่วมมือกันระหว่าง สถาบันการศึกษาอุตสาหกรรมใหม่ๆ และรัฐ ร่วมกับภาคประชาสังคมอย่างยั่งยืน |