Header Image
ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์

ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์

   การทําแผนพัฒนาโครงการย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจำแนกได้เป็นการพัฒนาเครือข่ายภายในย่านและชุมชน สืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบนวัตกรรม การส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อธำรงคุณค่าของแหล่งประวัติศาสตร์ 
•  ระยะการพัฒนาที่ 1: การพัฒนาระเบียงสร้างสรรค์ย่านนวัตกรรม
•  ระยะการพัฒนาที่ 2: การพัฒนาย่าน ชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในพื้นที่พัฒนา
•  ระยะการพัฒนาที่ 3: การพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง
   แต่ละโครงการนั้นจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้พื้นที่ การพัฒนานั้นมีภูมิทัศน์ที่ดีและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่สวยงามเหมาะกับการเป็นเมืองเก่าแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงเทพมหานคร และสามารถที่จะส่งเสริมทางด้านระบบเศรษฐกิจให้กับชุมชนและผู้คนที่เข้าทำอาชีพในบริเวณพื้นที่ รวมถึงเหล่าผู้ประกอบการเดิม และดึงดูดให้ผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่มีทัศนคติเดียวกันเข้ามาใช้พื้นที่เมืองเก่า และรวมไปถึงเป็นแหล่งรวบรวมเหล่าวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และนวัตกร (Innovator) เพื่อผลักดันให้เกิดเป็นย่านนวัตกรรม

ระยะการพัฒนาที่ 1 : การพัฒนาระเบียงสร้างสรรค์ย่านนวัตกรรม
•  โครงการที่ 1.1: การพัฒนาระเบียงสร้างสรรค์มหาราช (Maharaja Creative Corridor)
• 
ครงการที่ 1.2: การพัฒนาระเบียงสร้างสรรค์ราชดำเนิน (Ratchadamneon Creative Corridor)
•  โครงการที่ 1.3: การพัฒนาแกนพระนคร (Old Bangkok Axis)

ระยะการพัฒนาที่ 2 : การพัฒนาย่าน ชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในพื้นที่พัฒนา
• 
โครงการที่ 2.1: การพัฒนาระเบียงสร้างสรรค์คลองรอบกรุง ( Canal Creative Corridor)
•  โครงการที่ 2.2: โครงการปรับปรุงอาคารริมคลองหลอดวัดเทพธิดาราม (ตรอกสาเก)
•  โครงการที่ 2.3: โครงการปรับปรุงอาคารบริเวณรอบสถานีสภากาชาดที่ 2 สวนสาธารณะและถนนแพร่งภูธร
•  โครงการที่ 2.4: โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณตรอกหม้อ และส่งเสริมธุรกิจชุมชน
•  โครงการที่ 2.5: โครงการจัดระเบียบร้านค้าแผงลอยและพัฒนาพื้นที่เป็นถนนคนเดินในซอย

ระยะการพัฒนาที่ 3 : การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและทางเท้า
• 
โครงการที่ 3.1: การพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและทางเท้าซอยทิพย์วารีและถนนบ้านหม้อ

.

การวิเคราะห์คุณลักษณะศักยภาพเฉพาะของย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์
   ย่านรัตนโกสินทร์ประกอบได้ด้วยทรัพยากรที่หลากหลายและมีการผสมผสานระหว่างความเป็นเมืองเก่าและการเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยทรัพยากรในแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้
ย่านและชุมชน
   เกาะรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและย่านเก่าแก่ที่มีความสำคัญทั้งเรื่องของการค้า พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ เเละชีวิตความเป็นอยู่มากมายหลายย่านด้วยกัน โดยบางย่านกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและเป็นแหล่งขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้แก่ประเทศ ซึ่งกิจกรรมของย่านจะเกิดอยู่ในพื้นที่ของชุมชนที่ทำอาชีพนั้น ๆ สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
อาคารเก่าที่ทรงคุณค่า
   เนื่องจากเกาะรัตนโกสินทร์มีประวัติศาสตร์และความเป็นมา จึงทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้รับอิทธิพลตามช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการดำเนินชีวิตของประชากร หรือการพัฒนาเมืองในยุคนั้น ๆ ย่านรัตนโกสินทร์ก็ถือว่าเป็นอาคารเก่าที่มีคุณค่า แต่ละอาคารก็มีความเป็นมาไปตามยุคสมัยที่สร้าง ตามระยะเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งบริเวณพื้นที่ศึกษาที่ได้สำรวจนั้นแบ่งเป็น อาคารเก่าที่เป็นอาคารไม้ อาคารเก่าที่เป็นอาคารปูนและอาคารใหม่

.

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SME)
   เนื่องด้วยเกาะรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยศิลปกรรม สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่รวมไปถึงวิถีชีวิตชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชาวต่างชาติและชาวไทยในประเทศที่จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้ และใช้ชีวิตกับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเกาะรัตนโกสินทร์วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SME) ในเกาะรัตนโกสินทร์จะเห็นได้ว่า โฮสเทลและร้านกาแฟสำหรับคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และกระจุกตัวอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของถนนราชดำเนินและบริเวณถนนดินสอครอบคลุมไปถึงย่านเสาชิงช้า ซึ่งปัจจัยที่ทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SME) กระจุกอยู่บริเวณพื้นที่นี้ ได้แก่
   1) ถนนราชดำเนินเป็นถนนสายหลักที่เชื่อมต่อจากย่านใจกลางเมือง จึงเป็นจุดเชื่อมโยงของระบบการคมนาคม ทำให้เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงได้ง่ายและเป็นศูนย์กลางที่จะสามารถกระจายผู้คนไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้
   2) รูปแบบของอาคารและสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจ ซึ่งอาคารที่ใช้ทำเป็นโฮสเทลส่วนใหญ่นั้นจะเป็นบ้านเก่าเรือนไม้ที่ทำการปรับปรุงเป็นที่พัก ส่วนร้านกาแฟก็จะอยู่ภายในอาคารเก่าสมัยรัชกาลที่5 (อาคารแบบโคโลเนียล) และปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายในร้านใหม่ให้ตอบโจทย์กับ Generation ใหม่ ๆ 

ระบบการคมนาคม
   ระบบคมนาคมภายในย่าน แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือการคมนาคมทางบก และทางน้ำ โดยการคมนาคมทางบกในปัจจุบันประกอบด้วย ทางรถยนต์ ระบบขนส่งมวลชนโดยรถโดยสารประจำทาง และในอนาคตภายในพื้นที่ย่านจะมีการขนส่งทางรางเพิ่มเข้ามาเพื่อให้สามารถเดินทางเข้ามาในพื้นที่ศึกษาได้สะดวกเพิ่มมากขึ้น ส่วนการคมนาคมทางน้ำประกอบด้วย เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือข้ามฟากจะเห็นได้ว่าระบบการคมนาคมในพื้นที่มีความหลากหลายซึ่งจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะเดินทางสัญจรเข้ามาในพื้นที่ได้เพิ่มมากขึ้นและเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่จะช่วยดึงกลุ่มธุรกิจให้เข้ามายังพื้นที่ได้อีกด้วย

ทางสัญจรทางจักรยาน และทางเดินเท้า
   เส้นทางจักรยานในพื้นที่ศึกษาเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน และชั้นนอก มีจำนวนทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 8 กิโลเมตร ได้แก่ 1) ถนนมหาไชย 2) ถนนกัลยาณไมตรี 3) ถนนท้ายวัง 4) ถนนมหาราช 5) ถนนหน้าพระลาน 6) ถนนหน้าพระธาตุ 7) ถนนราชินี 8) ถนนพระสุเมรุ 9) ถนนบวรนิเวศ 10) ถนนสนามไชย 11) ถนนตะนาว และ 12) ถนนพระอาทิตย์ (ที่มา: สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร,2558) ซึ่งเส้นทางจักรยานทั้งหมดใช้ร่วมกับทางรถยนต์โดยแบ่งเป็นช่องทางจักรยานด้านเดียว ขนาด 0.50 เมตร มีจุดบริการจักรยานอยู่บริเวณถนนหน้าพระธาตุ และจุดจอดจักรยานบริเวณถนนหน้าพระธาตุ ถนนหน้าพระลานถนนท้ายวัง โดยจุดจอดรถจักรยานมีไม่ครบทุกเส้น 

พื้นที่สาธารณะและพื้นที่เปิดโล่ง
   ในการศึกษาพื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่เปิดโล่ง และพื้นที่สีเขียวจะเห็นว่าในเกาะรัตนโกสินทร์มีสวนสาธารณะทั้งหมด 7 สวน ได้แก่ สนามหลวงสวนรมณีนาถ สวนนาคราภิรมย์ ลานพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สวนสันติชัยปราการสวนสราญรมย์ และป้อมมหากาฬ โดยส่วนมากใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายและที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนเป็นหลัก จากการศึกษาพื้นที่สีเขียวในเกาะรัตนโกสินทร์มีความเห็นว่า เมื่อเกิดการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ จะดึงดูดคนในพื้นที่ให้ออกมาใช้พื้นที่กันมากขึ้นและคนภายนอกให้เข้ามาใช้งานในพื้นที่ เกิดกิจกรรมและการพัฒนาพื้นที่ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งพื้นที่สามารถนำมาพัฒนาได้นั้นแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 1) พื้นที่ริมน้ำ 2) พื้นที่ถนน 3) พื้นที่บริเวณสะพาน 4) พื้นที่สำนักงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ วัด พื้นที่เอกชน (ลานอเนกประสงค์ ลานจอดรถ อื่น ๆ ) และ 5) พื้นที่ในชุมชน

.

วิสัยทัศน์ และแนวคิดการวางผังพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์

วิสัยทัศน์
   ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ A Leading Creative Hub of Southeast Asia

เป้าประสงค์
   เป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาคือ การทำให้ย่านเมืองเก่ากรุงเทพมหานครมีคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
   1) วัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Culture)
   2) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
   3) เมืองสร้างสรรค์ (Creative Urban Environment)

วัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Culture)
   1) แหล่งชุมนุมของคนทำงานและวิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) คณะทำงานมุ่งหมายให้ คนทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เหล่านี้ อยู่อาศัยและใช้ชีวิตในย่านเป็นหลักด้วยตามแนวคิด Live/Work/Play/Create
   2) สังคมหรือเครือข่ายคนทำงานและวิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ปฏิสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นและสม่ำเสมอ
   3) แหล่งผลิตนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้นวัตกรรมอย่างเข้มข้น
   4) วัฒนธรรมผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Culture) บนฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ยอมรับและเชิดชูความหลากหลาย การแข่งขันและร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
   5) การผสมผสานกันของสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ทั้งในแง่ผู้คนเศรษฐกิจสังคม และกายภาพ
   6) เป็นย่านที่มีกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
   1) เป็นแหล่งรวมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) โดยวิสาหกิจเริ่มต้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
   2) มีพลวัตของการแลกเปลี่ยนความคิดใหม่ ๆ ระหว่างนวัตกร (Innovators) การหมุนเวียนบุคลากรสร้างสรรค์ระหว่างองค์กรธุรกิจ และถ่ายทอดนวัตกรรม
   3) สินทรัพย์นวัตกรรมในย่านได้รับการต่อยอด เพื่อการพาณิชย์และจรรโลงสังคม
   4) เป็นแหล่งบ่มเพาะและเร่งรัดวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์
   5) เป็นแหล่งที่มีสินค้าและบริการเฉพาะตัวที่สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ และกลุ่มคนที่ต้องการบริโภคสินค้าและบริการสร้างสรรค์
   6) เป็นเขตที่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และบุคลากรสร้างสรรค์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นพิเศษผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น ภาษี เงินอุดหนุน เงินกู้และกฎระเบียบ

.

เมืองสร้างสรรค์ (Creative Urban Environment)
   1) เป็นแหล่งที่มรดกทางวัฒนธรรมได้รับการอนุรักษ์และมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
   2) มีลักษณะพิเศษที่ให้แรงบันดาลใจแก่การทำงานสร้างสรรค์ และมีเสน่ห์ดึงดูดผู้มาเยือน
   3) มีพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรม
   4)เป็นเมืองน่าอยู่ ยั่งยืน และเป็นธรรม (Livable, Sustainable and Just City) ทั้งในเชิงกายภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม
   5) เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) พร้อม

.

การสร้างสภาพแวดล้อมเมืองอยู่ดีมีสุข (Green and Happiness City)
   การตระเตรียมพื้นที่ของย่านให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานของระบบนิเวศย่านนวัตกรรมจึงเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนพัฒนาย่านนวัตกรรม โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
   1) ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในย่าน
   2) ส่งเสริมชุมชนดั้งเดิม
   3) ส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์โดยวิสาหกิจเริ่มต้น และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการสร้างเครือข่ายระหว่างกัน
   4) ส่งเสริมสภาพแวดล้อม ทั้งในแง่ความงามการประหยัดพลังงาน และการควบคุมมลภาวะ
   5) อนุรักษ์และต่อยอดสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
   6) ส่งเสริมการใช้พื้นที่แบบผสมผสาน
   7) ส่งเสริมการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างผู้คน ธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ทั้งทางออนไลน์และทางกายภาพ
   8) เพิ่มพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่ทำกิจกรรมร่วม
   9) ส่งเสริมธุรกิจบริการแบบไลฟ์สไตล์ที่ให้บริการกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์

แสดงการเกิดย่านนวัตกรรมขึ้นและพื้นที่เป้าหมายจะสอดคล้องกับระยะการเดินเท้าบริเวณคลองรอบกรุงที่เหมาะสม รายละเอียดมีดังนี้
   1) บริเวณพื้นที่สาธารณะป้อมพระสุเมรุปรับภูมิทัศน์พื้นที่ใกล้เคียงสวนสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่สอดคล้องเข้ากัน
   2) บริเวณท่าเรือท่องเที่ยวบางลำพู ในปัจจุบันมีท่าเรือท่องเที่ยวของเอกชน ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ท่าเรือเเละสามารถเป็นจุดเชื่อมต่อกับตลาดบางลำพู
   3) บริเวณซอยเข้าคลองวัดบวรนิเวศราชวรวิหารบางลำพู ปรับภูมิทัศน์พื้นที่ซอยเชื่อมต่อกับถนนมหาราชในพื้นที่มีหลายซอย มีการใช้ประโยชน์อาคารเป็นที่พักอาศัย ตลาด พื้นที่สาธารณะที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกันได้ดี
   4) บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ป้อมมหากาฬ (Living Museum) พื้นที่ป้อมมหากาฬจะเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ คลองรอบกรุงส่วนใต้ไปสู่ย่านสะพานเหล็กและพาหุรัด
   5) บริเวณสถานนีรถไฟฟ้าสามยอดและสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพา เป็นจุดเชื่อมต่อ พื้นที่สาธารณะย่านสะพานเหล็กเเละท่าเรือท่องเที่ยวคลองรอบกรุง
   6) บริเวณย่านสะพานเหล็ก พาหุรัด (Little India Fashion District) ย่านสะพานเหล็กมีพื้นที่สาธารณะขนาดใหม่เเละเชื่อมต่อกับย่านพาหุรัดที่จะเป็นย่านแฟชั่นของพื้นที่
   7) บริเวณสวนสาธารณะสะพานพุทธอาคารไปรษณียาคาร ปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะจากสะพานหันไปถึงสวนสาธารณะเเละเป็นโครงการพัฒนาถนนมหาราช


Line QRCode

คะแนนโหวต :
ImageImageImageImageImage